ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS

ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS

มีคำถามจากผู้ที่สนใจเรื่องรถยนต์ถามว่า
"ปัจจุบันระบบเบรก ABS กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของรถไปเสียแล้วหรือ ?"

เพื่อ ความปลอดภัยสูงสุดของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์จึงได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยหลายรูป แบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรก ABS, ถุงลมนิรภัย, คานเสริมรับแรงกระแทก ซึ่งในครั้งนี้ จะกล่าวถึงระบบเบรก ABS เทคโนโลยีที่จะช่วยให้รถหยุดได้อย่างมั่นใจในสภาวะคับขัน

ระบบเบรก ABS ย่อมาจาก Anti-Lock Brake System หรือระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ที่เรียกเช่นนี้เพราะว่า สามารถป้องกันการ ล็อกตัวของล้อในขณะเบรกได้ แล้วการที่ล้อจะล็อกหรือไม่นั้น เกิดขึ้นและมีผลอย่างไรกับการขับขี่

อธิบาย ง่าย ๆ ว่า ในเวลาที่รถเคลื่อนที่ จะเกิดแรงที่ส่งให้รถหรือสิ่งใด ๆ ที่อยู่ในรถ เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เราเรียกเจ้าแรงนี้ว่า "แรงเฉื่อย" ปริมาณของแรงเฉื่อยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักรวมและความเร็วของรถใน ขณะนั้น ถ้าในระหว่างที่ขับมาดี ๆ มีเหตุให้ต้องหยุดรถกะทันหัน วิธีเดียวที่จะทำได้ก็คือ หาแรงมาต้านในปริมาณที่เท่ากับแรงเฉื่อยที่ว่า รถจึงจะหยุดได้ แรงต้านที่ปลอดภัยที่สุดก็คือ แรงที่ได้มาจากการเบรก วิศวกรออกแบบระบบเบรก โดยใช้ประโยชน์จากความฝืด เวลาเราเหยียบเบรก แรงจากการเหยียบจะถูกเพิ่มปริมาณขึ้นโดยระบบคานงัดของขาแป้นเบรก, หม้อสุญญากาศเพิ่มแรงบวก, และระบบไฮ ดรอลิก พอไปถึงล้อ แรงที่ได้ก็จะสูงกว่าแรงเฉื่อย แต่แรงดังกล่าวจะไม่เกิดผลใด ๆ เลย ถ้าระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรกและระหว่างยางกับพื้นถนน ไม่มีความฝืด ตรงนี้แหละที่เกี่ยวข้องกับการล็อกตัวของล้อ

ความฝืดระหว่างผ้า เบรกกับจานเบรกคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะอยู่ในขอบเขตที่สามารถออกแบบให้มีความฝืดตามที่ต้องการได้ (ถ้าใช้ผ้าเบรกราคาถูกจะว่าไม่มีปัญหาก็ไม่ถูกนัก เพราะที่แน่ ๆ คือ ค่าสัมประสิทธิ์ความฝืด ย่อมไม่เท่ากับผ้าเบรกของแท้อย่างที่วิศวกรออกแบบเอาไว้) ที่จะมีปัญหาก็คือ ความฝืดระหว่างยางกับพื้นถนน เพราะถ้าความฝืดดังกล่าว มีค่าน้อยกว่า ความฝืดระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรกและน้อยกว่าแรงเฉื่อย เช่น บนพื้นถนนที่ลื่น, ถนนลูกรัง, ถนนที่มีน้ำขังหรืออย่างในประเทศที่มีอากาศหนาวมาก ๆ มีแผ่นน้ำแข็งเกาะอยู่ ล้อก็จะถูกล็อกตาย แล้วลื่นไถลไปตามทิศทางของแรงเฉื่อยที่เกิดขึ้น ทีนี้ไม่ว่าจะหมุนพวงมาลัยไปทางไหนก็ตาม รถก็จะยังคงไถล ไปตามทิศทางของแรงเฉื่อย อยู่นั่นเอง นี่แหละครับ อันตรายของการที่ล้อล็อกตายในขณะเบรก
คราวหน้า เอาไว้มาว่ากันต่อถึงการทำงาน และข้อควรระวังในการใช้เบรก ABS
ระบบ เบรกป้องกันล้อล็อก ABS เกิดมาจากแนวคิดในการแก้ปัญหาการลื่นไถลในขณะเบรก เนื่องจากความฝืดของระบบเบรกมีมากกว่าความฝืดของยางกับพื้นรถ เราทราบกันดีว่า ในขณะเบรกเราไม่ต้องการให้ล้อล็อกตายเพราะจะทำให้ควบคุมรถไม่ได้และการที่ ล้อล็อกตายก็เพราะมีแรงจากการเบรกกดอยู่ การทำให้ไม่ให้ล้อล็อก ต้องปลดแรงจากการเบรกออก แต่พอปลดแรงเบรกออก รถก็ไม่หยุด เป็นเงื่อนไขกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น

วิศวกรจึงแก้ปัญหานี้โดย การออกแบบให้ระบบเบรกทำงานแบบจับ-ปล่อยในจังหวะที่เร็วประมาณ 50 ครั้ง/วินาที เพราะพบว่าถ้าทำได้เร็วมาก ๆ จะทำให้ได้ผลอย่างที่ต้องการทั้งสองทางคือ การที่ล้อไม่ล็อกทำให้ยังสามารถที่จะควบคุมทิศทางของรถได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้รถหยุดได้ด้วย แต่การที่จะให้ระบบเบรกทำงานอย่างนั้นได้ต้องมีอุปกรณ์ที่ค่อนข้างซับซ้อน เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ต้องมีตัวตรวจจับการหมุนของล้อ, มีหน่วยประมวลผล เป็นต้น เพื่อรับทราบว่าความเร็วในการหมุนของล้อแต่ละข้างเริ่มจะหยุดนิ่งหรือแตก ต่างกันหรือไม่ อย่างไรก่อนจะสั่งการให้ระบบเบรกทำงาน รวมทั้งมีชุดปั๊มและวาล์วที่สามารถทำงานด้วยความถี่หลายสิบครั้งต่อวินาที

ลักษณะ การทำงานแบบจับ ๆ ปล่อย ๆ นี้เองที่ผู้ขับขี่บางท่านสงสัยว่าระบบเบรกในรถของตนจะผิดปกติหรือไม่ เพราะเมื่อเหยียบเบรกแล้วมีแรงต้านกระตุกถี่ ๆ ที่แป้นเบรก ซึ่งในกรณีนี้ถ้าเป็นที่มีระบบ ABS ไม่มีอะไรผิดปกติแต่กลับแสดงว่าระบบทำงานได้ดี แต่ถ้าเป็นรถที่ไม่มีระบบ ABS แล้วมีอาการคล้าย ๆ อย่างนั้น คงต้องนำรถเข้าศูนย์ตรวจเช็กกันเสียทีแล้ว เพราะจานเบรกอาจจะคดหรือมีชิ้นส่วนอะไรหลุดหลวมก็ได้

ที่กล่าวมา นี้คงพอจะทำให้ท่านได้รู้จักกับระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS กันมากขึ้น ก่อนที่จะลองไปตรวจสอบระบบเบรกของรถตนเอง มีข้อควรระวังที่อยากจะฝากไว้ว่า เบรก ABS ไม่ได้ทำให้รถหยุดได้ทันใจมากขึ้น กลับจะทำให้ระยะเบรกยาวขึ้นด้วยซ้ำ เพียงแต่เบรก ABS ช่วยให้สามารถควบคุมการบังคับเลี้ยวของรถได้ในขณะใช้เบรกบนพื้นผิวถนนที่ ลื่นเท่านั้น

ABS : ความปลอดภัยที่ต้องเรียนรู้

--------------------------------------------------------------------------------

รถ ยนต์ทุกคันล้วนมีระบบเบรกพื้นฐานแต่การเบรกกระทันหันอย่างรุนแรง หรือบนเส้นทางลื่นยังเสี่ยงต่อการเกิดอาการล้อล็อก ABS จึงถูกเสริมเข้ามา เพื่อลดความเสี่ยงนั้น


ผู้ผลิตรถยนต์ล้วนมีการพัฒนาเพิ่ม ประสิทธิภาพของระบบเบรกพื้นฐานอยู่ตลอด เพื่อการหยุดการขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์สมรรถนะสูงที่ไม่เคยหยุดนิ่งในการ พัฒนา เพิ่มแรงม้าอย่างสมบูรณ์ที่สุด เช่น ดิสก์เบรกที่ระบายความร้อนได้ดี ผ้าเบรกเนื้อเยี่ยม และอีกสารพัดแนวทาง


ไม่ว่าจะมีการพัฒนา ระบบเบรกพื้นฐานให้เหนือชั้นขึ้นเพียงใด ก็ยังมีอีกปัญหาหนึ่ง ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ คือ เบรกแล้วเกิดอาการล้อล็อก-หยุดหมุน ในขณะที่ตัวรถยนต์ ยังพยายามเคลื่อนที่อยู่ เช่น เมื่อมีการเบรกกระทันหันอย่างรวดเร็วรุนแรง หรือการเบรก บนเส้นทางลื่น เมื่อล้อล็อกก็จะส่งผลให้พวงมาลัยไม่สามารถควบคุมทิศทาง ได้ตามปกติหรือรถยนต์ปัดเป๋-หมุนคว้างได้


แม้ผู้ขับมือดี จะมีแนวทางแก้ไขด้วยตัวเองโดยการตั้งสติกดเบรกหนักแต่พอประมาณ แล้วปล่อยออกมาเพื่อย้ำซ้ำ ๆ ถี่ ๆ ไม่กดแช่ เพื่อไม่ให้ล้อล็อก แต่ในการขับจริงทำได้ยาก เพราะอาจขาดการตั้งสติ คิดไม่ทัน หรือย้ำได้แต่ไม่ถี่พอ


ABS-ANTILOCK BRAKING SYSTEM
เป็น แค่ระบบที่ถูกพัฒนาเสริมเข้ามา ไม่ใช่เมื่อมีเอบีเอสแล้วไม่ต้องมีระบบเบรกพื้นฐาน จะเป็นดิสก์เบรก 4 ล้อ หน้าดิสก์-หลังดรัม หรือดรัม 4 ล้อ ก็ยังต้องมีอยู่
เอบีเอส ทำหน้าที่คงและคลายแรงดันน้ำมันเบรกสลับกันถี่ ๆ เพื่อป้องกันล้อล็อก เมื่อต้องเบรกในสถานการณ์แปลก ๆ ข้างต้น เหนือกว่าการควบคุมของมนุษย์ คือ แม่นยำและมีความถี่มากกว่า มีการจับ-ปล่อยผ้าเบรกสลับกันหลายครั้งต่อวินาที โดยผู้ขับมีหน้าที่ กดแป้นเบรกหนัก ๆ ไว้เท่านั้น


สาเหตุที่ต้องป้องกันล้อล็อก
เพราะ ต้องการให้พวงมาลัยยังสามารถบังคับทิศทางพร้อมกับการเบรกอย่างกระทันหัน ไม่ใช่เบรกแล้วทื่อไปตามของแรงส่งในการเคลื่อนที่อย่างไร้การควบคุมทิศทาง และป้องกันไม่ให้รถยนต์ปัดเป๋-หมุนคว้าง
ลองเปรียบเทียบถึงรถยนต์ที่ แล่นบนพื้นน้ำแข็งที่ลื่นมาก และมีการกดเบรกอย่างเร็ว-แรง ล้อจะหยุดหมุน-ล็อก ในขณะที่ตัวรถยนต์ยังลื่นไถลต่อ ตามแรงในการเคลื่อนที่
หรือแรงเหวี่ยง โดยพวงมาลัยแทบจะไร้ประโยชน์เพราะถึงจะหักเลี้ยวไปทางซ้าย แต่ถ้ารถยนต์มีแรงส่งไถลไปทางขวา ก็จะไม่สามารถควบคุมทิศทางให้ไปทางซ้าย ตามที่ต้องการได้
การเบรกในสถานการณ์เช่นนั้น ต้องลดความเร็วลงในขณะที่ยังสามารถควบคุมทิศทาง ด้วยพวงมาลัยได้ มิใช่ปล่อยให้ไถลไปตามอิสระ ส่วนในการเบรกตามปกติ ที่ไม่กระทันหัน หรือเส้นทางไม่ลื่น เอบีเอสก็ไม่ได้มีโอกาสทำงานควบคุมแรงดันน้ำมันเบรก ยังใช้ประสิทธิภาพจริงของระบบเบรกพื้นฐานเป็นหลักเท่านั้น


สถานการณ์ใดบ้าง ที่ต้องการเอบีเอส
ใน ประเทศที่มีหิมะตก หรือพื้นเส้นทางเคลือบไปด้วยน้ำแข็ง เอบีเอสมีโอกาสได้ทำงานบ่อย แต่ในประเทศแถบร้อนทั่วไป เอบีเอสก็มีโอกาสได้ทำงานพอสมควร เช่น การเบรก บนถนนเรียบ แต่เปียกไปด้วยน้ำ ทางโค้งฝุ่นทราย รวมถึงถนนเรียบแห้งสะอาด แต่มีการเบรกกระทันหันอย่างรวดเร็วรุนแรง โดยไม่ค่อยมีใครมองถึงประโยชน์ของเอบีเอส ในการเบรกขณะที่แต่ละล้อสัมผัสผิวเส้นทางที่มีความลื่อนต่างกัน เช่น การหลบลงไหล่ทาง
แค่ 2 ล้อ ซึ่งมี 2 ล้อด้านขวาอยู่บนถนนฝืด แต่อีก 2 ล้อด้านซ้ายอยู่บนไหล่ทางผิวกรวดทราย ถ้าเบรกแรง ๆ แล้วรถยนต์อาจหมุนคว้างได้


หาก นึกภาพการเบรกเมื่อแต่ละล้อสัมผัสผิวเส้นทางที่ลื่นต่างกันไม่ออกมีตัวอย่าง ชัดเจน จาการทดสอบรถยนต์ในต่างประเทศ ในสนามทดสอบมีการปูกระเบื้องผิวลื่นมาก เป็นแถบยาว แทรกไว้บนด้านหนึ่งของผิวคอนกรีตหรือยางมะตอยที่มีความฝืดตามปกติ แล้วมีการฉีดพรมน้ำตลอด เริ่มจากการขับรถยนต์ที่ไม่มีเอบีเอส ให้ 2 ล้อในซีกซ้ายแล่นบน ผิวถนนปกติ และอีก 2 ล้อซีกขวาแล่นบนกระเบื้องเปียก เมื่อกดเบรกอย่างแรง รถยนต์ จะหมุนคว้างในทันที เพราะ 2 ล้อที่อยู่บนกระเบื้องเปียกจะหยุดหมุนล็อกอย่างรวดเร็ว แล้วเมื่อทดสอบด้วรถยนต์ที่มีเอบีเอส ก็สามารถเบรกได้ในขณะที่รถยนต์ยังตรงเส้นทางอยู่ ส่วนบนเส้นทางวิบาก เช่น ลูกรัง ฝุ่นทราย เอบีเอสช่วยได้ดีเมื่อต้องเบรกแรง ๆ หรือกระทันหัน


เปรียบเทียบลักษณะการทำงานของเอบีเอส และระยะในการเบรกให้เข้าใจง่าย ๆ คือ
คนใส่รองเท้าพื้นยางเรียบ ถ้าวิ่งเร็ว ๆ บนคอนกรีตแล้วมี 2 วิธีในการหยุด คือ
1. เสมือนไม่มีเอบีเอส หยุดซอยเท้าในทันทีพื้นรองเท้าก็จะครูดไปกับคอนกรีตไม่ไกล แล้วหยุดสนิท กับ
2. กระทำเสมือนมีเอบีเอส ค่อย ๆ ลดความเร็วในการซอยเท้า ก่อนที่จะหยุดสนิท แม้พื้นรองเท้าจะไม่ครูดไปกับคอนกรีตแต่ก็จะไม่ได้ระยะหยุดสั้นกว่าการหยุด แบบ หยุดซอยเท้าในทันทีแล้วปล่อยให้ครูด หากวิ่งบนลานน้ำแข็ง แล้วใช้ 2 วิธีในการหยุด เหมือนเดิม คือ
1. เสมือนไม่มีเอบีเอส หยุดซอยเท้าในทันที พื้นรองเท้าก็จะครูดไปกับผิวน้ำแข็ง มีระยะทางไกล กว่าจะหยุดสนิท ทั้งยังลื่นไถลปัดเป๋ไร้ทิศทาง กับ
2. การทำเสมือนมีเอบีเอส ค่อย ๆ ลดความเร็วในการซอยเท้าลงช้า ๆ ก่อนที่จะหยุดสนิท พื้นรองเท้าจะไม่ครูดไปกับผิวน้ำแข็ง ไม่ลื่นไถลและไม่ปัดเป๋ แล้วก็จะได้ระยะหยุดสั้นกว่าการหยุดแบบหยุดซอยเท้าในทันที ที่มา : http://www.tiida-club.net/smf/index.php?topic=2734.0
 
 

ค้นหา

รายงานทำสีรถล่าสุด

ดัดแปลงรถไดฮัทสุ ให้กลายเป็น??

ลองดูกันครับ รถสภาพแรกรับเข้ามา 15 March 2010 Read more...

แผนที่อู่สีคาร์ไบร์ท

ตอนนี้ทางอู่ได้จัดระบบใหม่ สามารถรับรถเพิ่มได้อีกจำนวนมาก... 30 November 2009 Read more...

แผนที่เดินทางมาอู่สีคาร์ไบร์ท

เชิญเลยครับ มาไม่ถูกโทรมาสอบถามเส้นทางกันได้ ช่างหน่อย... 27 November 2009 Read more...

Alfa Romeo พ่นตามสีที่คุณขอมา

รายงานสีจากห้องพ่นครับ เจ้าของมาเฝ้าที่หน้าห้องอบสีเลย ... 14 September 2009 Read more...

ทำสีกันชนหน้า กันชนหลัง ฮอนด้า accord เคลมรอบคัน

ภายนอกดูเหมือนบุบนิดหน่อย แต่พอเปิดฝากระโปรงตรวจดูละเอียดก็ทราบได้ว่า... 21 June 2009 Read more...

SUZUKI VITARA JLX 3Dr เคสไปชนท้าย

เจ้าซูซุกิ วิทาร่าคันนี้ โชคดีที่เจ้าของทำประกันชั้น... 21 June 2009 Read more...

ทำสีกันชนหน้า กันชนหลัง ฮอนด้าแอคคอร์ด Accord VVTiรอบคัน

ตัวอย่างการเคลมประกันรอบคัน ของรถฮอนด้า แอคคอร์ด วีวีทีไอ... 21 June 2009 Read more...

ทำสีกันชนหน้า กันชนหลัง ฮอนด้า CRV รอบคัน

CRV คันนี้มาเก็บรอยกันชนรอบคัน ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างครบคันเลยทีเดียว... 21 June 2009 Read more...

ทำสีล้อ ล้อแมกซ์ โตโยต้า แท้

คันนี้ชนแล้วครูดโชคดีที่เป็นฝ่ายถูก ประกันชั้น 1 เลยได้ทำงาน... 21 June 2009 Read more...

ทำสีกันชนหน้า กันชนหลัง โตโยต้า ไทเกอร์ #1

ตัวอย่างทำสีรอบคัน กระบะ โตโยต้า ไทเกอร์ คันที่ #1 รูปในขณะดำเนินงาน... 21 June 2009 Read more...

ทำสีกันชนหน้า กันชนหลัง โตโยต้า ไทเกอร์ #2

ตัวอย่างทำสีรอบคัน กระบะ โตโยต้า ไทเกอร์ คันที่ #2 คันนี้ไม่เหมือนคันแรก... 21 June 2009 Read more...

ทำสีกันชนหน้าเมอร์เซเดส-เบนซ์ Benz

ตัวอย่างการทำสีกันชนหน้า กันชนหลัง และกาบด้านข้าง เสียดายคันนี้เก็บภาพไว้ได้ไม่ครบ... 21 June 2009 Read more...

ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS

ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS มีคำถามจากผู้ที่สนใจเรื่องรถยนต์ถามว่า... 16 June 2009 Read more...

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถควันดำ

           หลังจากที่กรุงเทพมหานครร่วมกับกรมการขนส่งทางบก... 15 June 2009 Read more...

ใช้รถอย่างไรให้ประหยัดน้ำมัน

ในยุคที่เศรษฐกิจของประเทศไทยตกสะเก็ดอยู่ในขณะนี้ แถมราคาน้ำมันก็ขยับเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีก... 15 June 2009 Read more...

การใช้เข็มขัดนิรภัย

            ประเภทของเข็มขัดนิรภัย                ... 15 June 2009 Read more...

การตรวจสภาพรถ

                    กรมการขนส่งทางบกมีหน้าที่รับผิดชอบการตรวจสภาพรถ... 15 June 2009 Read more...

เอกสารการรับบริการเคลมประกันภัยรถยนต์

ลูกค้าต้องเตรียมเอกสารประกันภัยสำหรับการเข้ารับการเคลมดังนี้... 08 February 2009 Read more...

สีรถที่ถูกโฉลกตามวันเกิด

      วิธีแก้เคล็ด       วิธีแก้เคล็ดสำหรับผู้ที่ใช้สีรถที่เป็นกาลกิณีวันเกิด... 07 February 2009 Read more...

เวลาในการออกรถ

การพิจารณาหาวันที่ดีและเหมาะสมนั้น(วันมงคล) ก็คือ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันกาลกิณีกับวันเกิดของเจ้าของรถอย่าง... 06 February 2009 Read more...

วันออกรถควรเป็นวันไหน?

ไม่ซื้อรถวันอาทิตย์ โบราณท่านว่า ใครซื้อรถในวันอาทิตย์... 06 February 2009 Read more...

สีรถกับวันเกิด

สีรถคนวันอาทิตย์ คนเกิดวันอาทิตย์ ควรใช้รถ สีที่เป็นมงคล... 06 February 2009 Read more...

สีรถบอกนิสัย

      รถ ยนต์แต่ละคันมีสีสันที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ... 04 February 2009 Read more...

ประกาศเปิดกิจการอู่สี 27 กพ. 52

เปิดตัวอู่สี CarsBright บริหารงานโดย คุณสมชาย ช่างหน่อย ช่างเล็ก... 03 February 2009 Read more...